เมนู

กุสลากุสลานัง มหันตามหันตภาวปัญหา ที่ 9


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ทายกา อันว่าทายกทั้งหลายกระทำทานอุทิศผลทานให้แก่
บุรพเปรต บุรพเปรตก็ได้ผล ถ้าบุคคลกระทำอกุศลอันหยาบช้า คือฆ่ามนุษย์กระทำโลหิตุปบาท
อรหันตฆาต เป็นต้น เป็นอกุศลอันทารุณร้ายกาจหยาบช้า จะพึงอุทิศผลอกุศลนั้นให้ญาติ
อันเป็นเปรต เปรตนั้นจะได้ผลอกุศลนั้นหรือจะไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงเถรวาจาว่า น หิ มหาราช ไม่ได้ ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา ส่วนว่าทายกกระทำทานการกุศลสิอุทิศแผ่ลงไปได้ ฝ่ายว่ากระทำอกุศลแผ่ผล
ไปไม่ได้ เหตุผลเป็นประการใด โยมสงสัยนักหนา
พระนาคเสนผู้ปรีชาจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ความประการนี้บพิตรถามดุจถามว่ารสทั้งปวงเป็นไรไม่เหมือนกัน โลกทั้งปวงนั้นจะให้อาตมา
กระทำให้เป็นกิจอันเดียววิสัชนาให้เหมือนกันไม่ได้ เหตุอันอื่นมีอยู่บพิตรไม่ถาม มาถามประการ
นี้ อย่าได้ถามเลย เหมือนหนึ่งถามว่า ฝักข้าวโพดเป็นไรจึงตั้ง ลูกฟักเขียวฟังทองเป็นไรจึง
ห้อยย้อยลงมา น้ำในแม่น้ำคงคาเป็นไฉนไม่ไหลทวนขึ้นไปเบื้องบนเล่า มนุษย์กับนกเป็นไปจึง
สองเท้า เนื้อเป็นไรจึงสี่เท้า ไม่รู้ที่จะวิสัชนาได้ ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา ใช่ว่าโยมจะแกล้งถามพระผู้เป็นเจ้าให้จนหามิได้ โยมถามทั้งนี้ด้วยเหตุว่ามนุษย์
ทั้งหลาย วิจกฺขุกา ปราศจากปัญญาจักขุมีมากในโลกนี้ จะถามเช่นโยมถามฉะนี้ จะหามีผู้แก้ไข
ไม่ โยมจึงถามให้ผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้เป็นผลแก่ฝูงชน อันจะเกิดมาในอนาคตกาลเบื้องหน้า
เอวาหํ ปุจฺฉามิ โยมจึงถามพระผู้เป็นเจ้าฉะนี้อย่างนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
อาตมามิอาจจะแจกอกุศลให้เหมือนกุศลได้โดยอนุมานปัญญา ดุจหนึ่งว่ามนุษย์ทั้งหลายอัน
กระทำอุทกังให้ไหลไปด้วยกาลักน้ำ และจะให้เว้นเสียจากกาลักน้ำ จะให้ยกเอาภูเขาอันเป็น
ช่องมากระทำให้น้ำไหลไปสู่ที่ไกลจะได้หรือ บพิตร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ไม่ได้นะ พระผู้เป็นเจ้า

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อาตมา
มิอาจจะแจกออกซึ่งอกุศล จะแจกได้จะว่าได้แต่กุศลว่าแผ่ผลให้บุรพเปรตได้ เอวเมว โข มี
อุปไมยเหมือนบุคคลไขน้ำด้วยกาลักน้ำ และจะให้เอาภูเขาเป็นปล่องมากระทำให้น้ำไหลไป
เหมือนกาลักน้ำไม่ได้ ถ้ามิฉะนั้นดุจประทีปที่ตามด้วยน้ำมันและบุคคลจะตามด้วยน้ำ จะได้หรือ
มิได้บพิตร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อาตมา
มิอาจจะแจกออกซึ่งอกุศล จะแจกได้จะว่าได้แต่กุศลว่า แผ่ผลให้บุรพเปรตได้ เอวเมว โข มีอุป-
ไมยเหมือนประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน และบุคคลไม่อาจเอาน้ำมาตามให้ติดได้ ประการหนึ่ง
ดุจชาวนาไขน้ำที่สระเข้านา และชาวนานั้นจะไขน้ำที่ทะเลมาสู่นา จะได้หรือมิได้บพิตร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ความ
เปรียบประการนี้ ยถา มีอุปมาฉันใด อาตมาจะแจกได้แต่กุศลว่าแผ่ผลได้ อกุศลนั้นอาตมา
มิอาจจะว่าได้ เอวเมว โข มีอุปไมยเหมือนชาวนาเคยไขน้ำมาแต่สระเข้านา มิอาจจะไขน้ำมา
แต่มหาสมุทรได้นั้น ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ครั้นนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรวิงวอนว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าจงให้โยมทราบเหตุที่พระผู้เป็นเจ้าอาจสามารถจะวิสัชนาได้แต่กุศล
ส่วนอกุศลพระผู้เป็นเจ้ามิอาจจะว่าได้ ด้วยโยมนี้ตามืดแลไม่เห็น หารู้ที่จะกำหนดไม่ สุตฺวา
ได้ฟังพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนา เวทิสฺสามิ จะได้รู้ได้เข้าใจในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตพระราชสมภาร อปุญฺญํ
อันว่าอกุศล โถกํ มีผลน้อย ปุญฺญํ อันว่ากุศลมีผลมาก อกุสลํ อันว่าอกุศล กตํ ผู้ใดกระทำก็
จำเพาะจะได้แต่ผู้นั้น มิอาจจะแผ่ผลไปได้ เหตุประการใด โถกตฺตา เหตุภาวะมีผลน้อย ปุญฺญํ
อันว่าบุญ พหุํ กตํ บุคคลกระทำได้ผลมาก อาจจะครอบงำได้ทั้งมนุษยโลกและเทวโลก
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า อุปมํ กโรหิ นิมนต์กระทำ
อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เอโก

ปริตฺโต อุทกวินฺทุโก ดุจหยาดน้ำอันน้อยหยาดหนึ่ง ตกถึงพื้นปฐพีจะซึมจะซาบอาบไปได้สิบวา
สิบสองวาสิบสามวา หรือ บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต หามิได้พระผู้เป็น
้เจ้า หยาดน้ำน้อยหยาดหนึ่งตกถึงปฐพี ตตฺเถว ปริยาทิเยยฺย จะซึมซาบหายสูญไปกับปฐพี
พระนาคเสนมีเถราวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เกน
การเณน
เหตุอันใดหยาดน้ำนั้นจึงไม่ไหลไปเหมือนอุทกังในแม่น้ำเล่า
พระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค-
เสนผู้ปรีชา ปริตฺตตฺตา เหตุว่าอุทกังนั้นมีหยาดน้อยนัก
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อกุศลนั้นมี
ผลน้อยมิอาจจะแจกผู้อื่นได้ อุปไมยเหมือนหยาดอุทกังอันน้อยนั้น อีกประการหนึ่ง มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจมหาเมฆอันใหญ่ อภิวสฺเสยฺย ตกลงมา
เหนือพสุธาอันใหญ่ จะท่วมสระ บ่อ ห้วย หนอง คลองน้อย แนวละหาน ดอนและลุ่มไหลไป
โดยรีขวางครอบงำไปได้สิ้นหรือไม่ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต เออกระนั้นสิ
พระผู้เป็นเจ้า ตกว่ามหาเมฆฝนห่าใหญ่ตกลงมาแล้ว ย่อมท่วมสระบ่อบึงบางห้วยหนองดอน
ลุ่มไหลหลั่งทั่วไปไกลได้สิบสองโยชน์สิบสามโยชน์ซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาปุจฉาถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
เป็นเหตุประการใด
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
ผู้ปรีชา มหนฺตตฺตา เหตุภาวะฝนนั้นห่าใหญ่ จึงท่วมแล้วไหลไปในที่อันไกล
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ความนี้ฉันใด มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
กุศลบุคคลกระทำได้ผลมาก อาจะแผ่ให้แก่เทวดามนุษย์ได้ เอวเมว โข มีอุปมาดุจห้วงห่าฝน
อันใหญ่เนืองนองนั้น นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา เหตุไรอกุศลจึงมีผลน้อย กุศลจึงมีผลมาก
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดา
ว่า ทายกจะให้ทานก็ดี รักษาศีลก็ดี จะภาวนาเป็นภาวนาสมาธิบดี จะรักษาอุโบสถศีลก็ดี โส

ทายโก อันว่าทายกนั้น หฏฺฐปฺปหฏฺโฐ มีใจยินดี หาสิโต ยิ้มแย้มหรรษา ปสนฺโน ศรัทธา
เลื่อมใส ปีติเวทชาโต เสวยปีติรำพึงถึงการกุศล ทำใจให้บังเกิดปีติเนือง ๆ ไป ใจนั้นมีแต่ปีติ
โสมนัส ภิยฺโย กุสลํ ปวฑฺฒติ กุศลนั้นยิ่งจำเริญขึ้นไปทุกขณะ ๆ แห่งจิตอันยินดีร่าเริงด้วยปีติ
โสมนัสนั้น
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อุทปาโณ ดุจสระและบ่ออันน้ำ พหู
สลิโล
มีอุทกังไหลหลั่งอยู่ไม่ขาดสาย มนุษย์นิกรสัตว์ทั้งหลายจะกินจะอาบหาบขนไปสัก
เท่าใด ๆ อปราปรํ อุปฺปชฺชติ อุทกังนั้นก็ไหลหลั่งมาไม่รู้ขาดสาย มนุษย์นิกรสัตว์ทั้งปลาย
มิอาจที่จะให้อุทกังสิ้นสุดได้ ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ทายกกระทำการกุศลนั้น ก็จะได้ซึ่งผลกุศลซึ่งกระทำครั้งเดียวทั้งร้อยปีทวีภิญโญยิ่งไปไม่รู้
สุดรู้สิ้นเลย ดุจสระบ่อน้ำนั้น ปุญฺญํ อันว่าบุญนี้มีผลมากด้วยเหตุประการฉะนี้ มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ฝ่ายว่าอกุศลนั้น บุคคลผู้ใดกระทำแล้ว มีแต่จะสอดแคล้ว
สงสัย วิปฺปฏิสารี เดือดร้อนน้ำใจ น้ำใจหดหู่ไปไม่เบิกบาน มีแต่รำพึงการเดือดร้อนกลัวตัวจะ
ไปทนทุกข์ไม่มีสุขเลยใจนั้นแห่งเหี่ยวไป ธรรมดาว่าห้วงแม้น้ำขาดแล้ว อุทกังที่ขังอยู่ไม่ไหลได้
มีแต่ว่าจะงวดจะแห้งเหือดไป ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร บุคคลกระทำการอกุศลมีแต่จะเดือดร้อย เมื่อจิตได้ความเดือดร้อนแล้ว จะย่อหย่อน
หดหู่ลี้ลับอัปภาคย์ไป มีแต่คิดที่จะกลับจิตเสียใหม่ ที่จะมิได้กระทำอกุศลต่อไป น้ำใจไม่เลื่อม
ใสคิดถึงบาปขณะใด ก็เศร้าหมองน้ำใจทีนั้น อุปไมยดุจแม่น้ำอันแห้งหากระแสน้ำมิได้ บพิตรพึง
เข้าพระทัยเถิดว่า กุศลมีผลมาก อกุศลมีผลน้อย ด้วยเหตุดังวิสัชนามาฉะนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรจึงยอกรตรัสสรรเสริญว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ สุภินฺโน พระผู้เป็นเจ้าทำลายเป็นอันดี จะได้ย่ำยี
เสียซึ่งคำปรับปวาทแห่งเดียรถีย์ ทีนี้แหละพระพุทธบุตรในพุทธศาสนา ลทฺธยสา จะได้ยศ
ศักดิ์ขึ้นเพราะพระผู้เป็นเจ้า สาธุ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับถ้อยคภ
ของพระผู้เป็นเจ้าจำไว้ในกาลบัดนี้
กุสลากุสลานัง มหันตามหันตภาวปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

สุปินปัญหา ที่ 10


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา สพฺเพ นรนาริโย หญิงชายทั้งหลายทั้งปวง อิธ โลกสฺมึ ในโลกนี้ นอนฝัน
กลฺยาณํปิ เป็นบุญก็ดี ปาปํปิ เป็นบาปก็ดี ทิฏฐปุพฺพํปิ ฝันที่ตนเคยได้เห็นมาก่อนก็ดี อทิฏฺฐ-
ปุพฺพํปิ ฝันที่ตนไม่ได้เคยเห็นมาก็ดี เขมํปิ มีเกษมสุขก็ดี สภยํปิ ประกอบไปด้วยภัยก็ดี
กตฺตพฺพํปิ ตนได้กระทำก็ดี อกตฺตพฺพํปิ ตนไม่ได้กระทำก็ดี ทูเรปิ มีในที่ไกลก็ดี สนฺติเกปิ มีในที่ใกล้
ก็ดี ฝันนี้มีวรรณะเป็นอันมากต่าง ๆ บางที่ระลึกหลงไปไกลแสนกัลป์ก็เก็บเอามาฝัน เหตุนั้นมี
เป็นประการใด นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร คือนิมิตมาสู่คลอง
แห่งปฐมจิตจึงให้ฝัน ยังลักษณะจะให้ฝันนั้นมี 6 ประการ วาติโก คือบุคคลมีวาโยธาตุอัน
กำเริบฝันไปนั้นประกร 1 ปิตฺติโก คือบุคคลมีดีอันกำเริบฝันไปนั้นประกร 1 เสมฺหิโก คือ
บุคคลมีเสมหะกำเริบฝันไปนั้นประการ 1 สนฺนิปาติโก เป็นโรคสันนิบาตให้ฝันไปประการหนึ่ง
เทวตูปสํหรโก เทวดาผีสางเข้าฝันประการ 1 ปุพฺพาจิณฺณเนมิตฺตโก สิ่งที่เคยสั่งสมคือ
บุญบาปที่กระทำไว้แต่ก่อนมาเป็นนิมิตในฝันนั้น ชื่อว่าบุพนิมิต 1 สิริเป็นเหตุ 6 ประการเท่านี้
แหละให้ฝัน ถ้าฝันด้วยบุพนิมิตนั้น สจฺโจ แน่นัก ฝันด้วยเหตุอื่นไม่แน่ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้เป็นเจ้า ที่ว่าฝันด้วยบุพนิมิตนั้น จิตของผู้ฝันนั้นเป็นนิมิตหรือว่านิมิตมาปรากฏใน
ภวังคจิตนั้น หรือว่าเหตุอื่นมาเป็นนิมิต
พระนาคเสนถวายพระพรว่า จะเป็นจิตนั้นตบแต่งนิมิตขึ้นเองหามิได้ อญฺโญ โกจิ จะ
เป็นสิ่งอันอื่นแต่งนิมิตหามิได้ คือนิมิตนั้นและมาปรากฏในปฐมจิตอันกล่าวคือภวังคจิต จึงให้ฝัน
ขอถวายพระพร ดุจกระจกส่องฉะนั้น กระจกนั้นจะได้มาให้เป็นเงาก็หาไม่ อญฺโญ โกจิ สิ่งอื่น ๆ
จะแต่งเงาเกิดขึ้นในกระจกนั้นหามิได้ สิ่งอื่นเล่าจะมาเป็นงานก็หามิได้ ตกว่าเงานั้นแหละปรากฏ
ในกระจกนั้นฉันใดก็ดี จิตนั้นจะมาแต่งนิมิตขึ้นได้หามิได้ อญฺโญ โกจิ สิ่งอื่นเล่าจะแต่งนิมิตหา
มิได้ นิมิตที่จะให้ฝันนั้นออกจากมาเกิดมาปรากฏในภวังจิตจึงฝันไป อุปไมยดงกระจกจะแต่งเงา
เองก็หามิได้ สิ่งอื่นเล่าจะกลายเป็นเงาไปก็หามิได้ ชาติเงานั้นแหละปรากฏในกระจกให้เห็น
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าจิตที่ฝันเห็นนั้น รู้หรือว่าฝันอย่างนี้จะดีจะมีสุขเกษม ฝันดังนี้จะชั่วจะมีภัย
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จิต